วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สถานที่ท่องเที่ยวประเทศลาว





หลวงพระบาง

เหตุผลต้นเรื่อง
เมื่อฉันเริ่มต้นที่จะเล่าเรื่องราวของเมืองมรดกโลกอย่างหลวงพระบาง ตามที่พี่ตะลอนได้มอบหมาย
และไว้วางใจเพราะเห็นว่าเดินทางไปบ่อยกว่าคนอื่น ๆ อาจจะพอมีความทรงจำเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ
ของหลวงพระบางมากกว่าคนอื่นอยู่พอสมควร เมื่อรับงานนี้ก็เป็นเวลาเดียวกับที่ฉันรู้ตัวว่าตัวเองมีความรู้
เกี่ยวกับหลวงพระบางเพียงแค่เศษเสี้ยวน้อยนิดเท่านั้น เมื่อเริ่มต้นหยิบหนังสือเล่มหนึ่งที่คิดว่าจะบอกเล่าเรื่องราว
เกี่ยวกับเมืองเล็ก ๆ เมืองนี้ได้ทั้งหมด ฉันก็รู้ตัวอีกว่าฉันจะต้องหาหนังสือเล่มอื่นมาอ่านเพิ่มอีกหลายเล่ม
หลวงพระบาง เมืองเล็ก ๆ ที่ฉันสามารถใช้เวลาเพียงวันเดียวเช่า และปั่นจักรยานชมเมืองได้ทุกซอกทุกมุม
โดยที่ไม่ต้องกลัวว่าจะหลง และไม้ต้องกลัวว่าจะเหนื่อย แต่ด้วยระยะเวลาเพียงวันเดียวฉันไม่สามารถซึมซับเอา
บรรยากาศความเป็นหลวงพระบางได้ทั้งหมด ทุก ๆ ครั้งที่ฉันได้มีโอกาสพาลูกทัวร์มาเยี่ยมยามเมืองนี้ ฉันรู้สึกเหมือนว่าได้กลับบ้าน
มันอบอุ่นอย่างประหลาด และตื้นตันจนยากจะอธิบาย ทุก ๆ คืนที่เราพักค้างแรมที่นั่น ฉันจะแอบเช่าจักรยานปั่นไปรอบเมือง เพื่อสูดกลิ่นอาย และซึมซับเอาบรรยากาศทุก ๆ อย่างไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่ฉันจะทำได้ ฉันปั่นจักรยานไปรอบ ๆ เมืองชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่าอย่างไม่รู้เบื่อ ถึงแม้ว่าในตอนกลางวันเราจะต้องใช้เวลานั่งรถตลอดทั้งวันจาก เมืองเวียงจันทร์มายังเมืองหลวงพระบาง คุณอาจจะคิดว่า ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ ปั่นจักรยานคนเดียวในตอนกลางคืน ต่างบ้านต่างเมืองไม่กลัวอันตรายหรือ คำตอบของฉันคือไม่ เพราะฉันไว้ใจคนเมืองนี้ แม้หลวงพระบางจะถูกกระแสทุนนิยมรุมเร้าหนักขึ้นเรื่อย ๆ มีคนหลากหลายเชื้อชาติแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมยาม และ
นำเอาวัฒนธรรมภายนอกเข้ามา เพราะถือได้ว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ติดอันดับไปแล้ว แต่สิ่งเหล่านี้ไม่เคยเปลี่ยนใจคนเมืองหลวง
พวกเขายังคงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย สมถะ ไม่โลภไม่แก่งแย่งใคร ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ฉันรัก และหลงไหลเมืองนี้
นอกจากตึกเก่า ๆ สมัยฝรั่งเศล และวัดวาอารามศิลปะล้านช้างอันทรงคุณค่า
คำว่า ?ลาว? มาจากไหน
ลาว คำนี้มีที่มาอยู่หลายที่ด้วยกัน บ้างก็ว่ามาจากคำว่า ?ลัวะ? หรือ ?ละว้า? ชนชาติที่อาศัยอยู่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนแถบนี้มาก่อนแล้วดังจะเห็นได้จากหลักฐานเกี่ยวกับการฝังศพหินตั้งและไหหิน เมื่อพวกไทยอพยพมาอยู่ในแถบนี้จึงเรียกคนเหล่าว่า ?ลาว? บ้างก็ว่าคนชาติลาวเกิดมาจากน้าเต้าใหญ่สองลูก
ในภาษาบาลีเรียกน้ำเต้าว่า ?ลาวุ? แล้วเพี้ยนมาเป็น ?ลาว? ในพงศาวดารจีนได้กล่าวว่ามีพี่น้องอยู่ 9 คน
ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของคนชาติลาวเรียกว่า ?พวกลี? ต่อมาเสียงเพี้ยนเป็น ?ลุง? แล้วเพี้ยนเป็น ?ลวง? ในที่สุดกลายมาเป็น ?ลาว?
และบ้างก็ว่า ?ลาว? คือคำเดียวกับคำว่า ?ดาว? เนื่องจากแต่เดิมนั้นพวกลาวอาศัยอยู่บนที่ราบสูงในประเทศจีน
ถือตัวว่าเป็นผู้มีความเจริญสืบเชื้อสายมาจากแถน เทียน ไท ไท้ ซึ่งมีความหมายว่า ?ฟ้า?
เหมือนกันเพราะเหตุนี้พวกลาวจึงมีลัทธิถือผีฟ้ามาแต่เดิม แต่ก็มีนักปราชญ์บางท่านเชื่อว่า
ลาว อาจเพี้ยนมาจากคำว่าหล้ง ลี ลุง ลวง แล้วเพี้ยนมาเป็นหลวง ก็ได้ ดังนั้น ลาว จึงมีความหมายว่าใหญ่ หรือเจริญ และชนชาติลาวถือกำเนิดมาพร้อมๆกับชนชาติจีน นับว่าเป็นชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอีกชาติหนึ่ง และมีความเจริญไม่แพ้ชาติอื่นๆ ในยุคสมัยเดียวกัน




สถานที่ท่องเที่ยวจ.พิษณุโลก





ภูหินร่องกล้า


อนุสรณสถานบนลานดอกไม้
     อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า มีพื้นที่ครอบคลุมรอยต่อสองจังหวัด คือ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ภูหินร่องกล้าเป็นแหล่งกำเนิดของประวัติศาสตร์การ
สู้รบอันยาวนานเป็นวีรกรรมของนักรบไทย ความขัดแย้งของลัทธิและแนวความคิดที่นำไปสู่ความสูญเสียเลือด
ชีวิตและน้ำตาภาพประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้ ตลอดจนสภาพสิ่งก่อสร้างในอดีตจะถูกบันทึกเก็บรักษาไว้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงผลของการใช้กำลังเข้าประหัตประหาร ทำให้เกิดความสูญเสียที่ประเมินค่ามิได้
อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองความแตกแยก ความสามัคคีของคนในชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 191,875 ไร่
หรือ 307 ตารางกิโลเมตร
     ในปี พ.ศ. 2511-2525 เทือกเขาหินร่องกล้านี้เคยเป็นฐานที่มั่นใหญ่ในการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต
์ เป็นผลเกิดปัญหาความมั่นคงทางการเมืองขึ้น ในกลางปี พ.ศ. 2515 ทางราชการทหารจึงได้เปิดยุทธการภูขวาง
โดยจัดกองพลผสมจากกองทัพภาคที่ 1, 2, 3 กรมการบินศูนย์สงครามพิเศษทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน
เข้าปฏิบัติเพื่อยึดภูหินร่องกล้า ทว่าไม่สำเร็จเพราะสภาพพื้นที่ไม่อำนวยเนื่องจากภูหินร่องกล้าตั้งอยู่กลางเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน
เป็นป่ารกทึบ
     ต่อมากองบัญชาการทหารบก ได้เปลี่ยนแผนยุทธการในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยใช้นโยบายที่ 66/2523
และคำสั่งที่ 65/2525 กองทัพภาคที่ 3 และทหารหน่วยผสม พลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 3 (พตท. 33)
ซึ่งนำโดย พันเอกไพโรจน์ จันทร์อุไร ผู้อำนวยการ พตท.33 ได้นำนโยบายใหม่นี้เข้าปฏิบัติการจนประสบความสำเร็จได้รับชัยชนะ โดยไม่เสียเลือดเนื้อแม้แต่น้อย บรรดาชาวบ้านและมวลชนของ ผกค. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเขา เผ่าม้ง (แม้ว)
ได้กลับใจไม่ให้ความร่วมมือกับ ผกค. และเข้ามอบตัวกับทางราชการส่วนแกนนำได้ละทิ้งฐานที่มั่นไป จากนั้น พตท. 33 จึงได้เริ่มพัฒนาพื้นที่แห่งนี้โดยการตัดถนนผ่านใจกลางภูหินร่องกล้า ต่อมา พตท. 33 ได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ สร 4001(301)/324
ลงวันที่ 10 มกราคม 2526 ให้กองทัพภาคที่ 3 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 พิจารณาร่วม
และประสานกับกรมป่าไม้เพื่อพิจารณา จัดตั้งบริเวณภูหินร่องกล้าเป็นอุทยานแห่งชาติ
กรมป่าไม้ได้มีคำสั่ง ที่ 196/2526 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2526 ให้นายชุมพล สุขเกษม นักวิชาการป่าไม้ 5 นายไมตรี อนุกูลเรืองกิจ
เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 นายมาโนช การพนักงาน นายช่างโยธา 3 ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลบริเวณภูหินร่องกล้าผลการสำรวจสรุปได้ว่า
เป็นพื้นที่ๆ สภาพภูมิประเทศและทิวทัศน์สวยงาม เป็นป่าต้นน้ำลำธารและมีลักษณะทางธรรมชาติ ที่เป็นจุดเด่นหลายแห่ง เช่น ลานหินแตก
ลานหินปุ่ม ประกอบกับเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของการสู้รบระหว่างกองทัพแห่งชาติกับคอมมิวนิสต์
มีความเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ
เป็นผลให้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 1 /2526
     เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2526 เห็น สมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าภูหินร่องกล้าให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนด บริเวณป่าภูหินร่องกล้าท้องที่ตำบลบ่อโพธิ์ ตำบลเนินเพิ่ม ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
และตำบลกกสะท้อน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 96
ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2527 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 48 ของประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยยอดภูเขาที่สำคัญคือ ภูหมันขาว ภูแผงม้า ภูขี้เถ้า ภูลมโล
ภูหินร่องกล้า โดยมีภูหมันขาวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1 ,820 เมตรจากระดับน้ำทะเล เทือกเขาเหล่านี้จะมีความสูงลดหลั่นลงไปจากด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกและ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย
เช่น ห้วยลำน้ำไซ ห้วยน้ำขมึน ห้วยออมสิงห์ ห้วยเหมือดโดน และห้วยหลวงใหญ่
ลักษณะภูมิอากาศ
ภูหินร่องกล้ามีสภาพภูมิอากาศคล้ายภูกระดึงและภูหลวงเนื่องจากมีความสูงไล่เลี่ยกันอากาศจะหนาวเย็นเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำมากประมาณ 0-4oC มีหมอกคลุมทั่วบริเวณ ส่วนฤดูร้อนอากาศจะเย็นสบายฝนตกชุกในฤดูฝน
อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 18-25oC
พืชพรรณและสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ 3 ชนิด คือ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าสนเขา
ป่าเต็งรัง เป็นป่าที่ขึ้นในพื้นที่ระดับต่ำบริเวณเชิงเขา พื้นที่เป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์และค่อนข้างแห้งแล้ง พันธุ์ไม้ที่พบ
ได้แก่ เต็ง รัง พยอม เหียง ตะคร้อ พลวง ฯลฯ
ป่าดิบเขา จะขึ้นในบริเวณเขาสูง ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก อากาศชื้น เป็นป่ารกทึบ พันธุ์ไม้ที่พบเห็นทั่วไป
ได้แก่ ก่อเดือย ก่อหัวหมู อบเชย ทะโล้ ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่าง ได้แก่ หวาย ปาล์มชนิดต่างๆ
ป่าสนเขา เป็นป่าบนที่ราบหลังภู มีสนสองใบและสนสามใบขึ้นปะปนกัน ส่วนใหญ่เป็นสนสองใบ บางแห่งอยู่รวมกันเป็นป่าสนกว้างใหญ่
นอกจากนี้ยังพบกล้วยไม้ป่าดอกไม้ป่าหลายชนิดขึ้นอยู่ตามลานหิน เช่น ม้าวิ่ง เอื้องตาหิน เอื้องคำหิน เอื้องสายสามสี ช้องนางคลี่
เหง้าน้ำทิพย์ กุหลาบขาว กุหลาบแดง ฟองหิน รวมทั้งมอส เฟิน ไลเคนล์ และตะไคร่ชนิดต่างๆ ซึ่งในช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาวดอกไม้ป่าเหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งมีสีสันงดงาม
ในอดีตภูหินร่องกล้า เคยมีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น เสือ กวางป่า เก้ง กระจง นกชนิดต่าง ๆ
ครั้นต่อมาเมื่อกลายเป็นแหล่งอาศัยของคนจำนวนมาก และยังเคยเป็นสมรภูมิแห่งการสู้รบมาก่อน สัตว์ป่าต่างๆ จึงถูกล่าเป็นอาหาร
ในปัจจุบันเหตุการณ์ต่าง ๆ สงบลง จึงมีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น เสือ เก้ง กระจง หมี และนกหลายชนิดเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้น
การเดินทาง
- จากตัวเมืองพิษณุโลก โดยสารรถยนต์ไปตามเส้นทางพิษณุโลก - หล่มสัก ระยะทางประมาณ 68 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านแยง
เลี้ยวซ้ายเข้าสู่อำเภอนครไทย เป็นระยะทาง 29 กิโลเมตร จากนั้นเดินทางต่อโดยรถสองแถว อีกประมาณ 31 กิโลเมตร จะถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า

- จากเมืองเพชรบูรณ์ไปอำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า บ้านวังบาน บ้านโจ๊ะโหวะ จนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้
ระยะทางประมาณ 115 กิโลเมตร






วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สถานที่ท่องเที่ยวจ.ราชบุรี




ตลาดน้ำดำเนินสะดวก

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากของราชบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯราว 80 กิโลเมตร
ในราวปี พ.ศ. ๒๔๐๙ รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯให้ขุดคลองดำเนินสะดวกระยะทางกว่า ๓๒ กิโลเมตร เชื่อมแม่น้ำแม่กลองที่บางนกแขวกกับแม่น้ำท่าจีนที่ประตูน้ำบางยาง และมีคลองซอยเล็ก ๆ มากมาย ทำให้ชาวบ้านในราชบุรี
สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร สามารถติดต่อกันทางน้ำได้สะดวก ตลาดน้ำดำเนินสะดวก เปิดตัวสู่สายตาชาวโลก
ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๑๐ ในภาพของตลาดลอยน้ำที่คราคร่ำไปด้วยเรือพายลำย่อม
บรรทุกสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ พ่อค้าแม่ค้าสวมเสื้อผ้าโทนสีเข้มแบบชาวสวน ใส่หมวกงอบใบลาน พายเร่ขายแลกเปลี่ยนสินค้าในยามที่เส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นหัวใจหลัก ปัจจุบันตลาดน้ำดำเนินสะดวก
เริ่มต้นค้าขายกันตั้งแต่เช้าตรู่ไปจนถึงช่วงประมาณ ๑๑.๐๐ น.

การเดินทางไปตลาดน้ำดำเนินสะดวก
รถยนต์ จากกรุงเทพฯสามารถเดินทางไปตลาดน้ำดำเนินสะดวกได้สองเส้นทางคือ
1. เดินทางไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข ๔) ผ่านบางแค สวนสามพราน นครชัยศรี นครปฐม
เลยกิโลเมตรที่ ๘๓ ไปเล็กน้อย จะพบแยกบางแพ เลี้ยวซ้ายมือไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๒๕ อีกประมาณ ๒๕ กิโลเมตร
แยกขวาอีก 1 กิโลเมตร
2. เดินทางไปตามสายธนบุรี-ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข ๓๕) ระยะทาง ๖๓ กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๒๖
ผ่านตัวเมืองสมุทรสงคราม เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๓๒๕ ไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตรถึงทางเข้าตลาดน้ำซึ่งอยู่ก่อน
ถึงสะพานธนะรัชต์ ๒๐๐ เมตรและ แยกซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร รถประจำทาง มีรถโดยสารปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-ดำเนินสะดวก
ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี เที่ยวแรกออกตั้งแต่เวลา ๐๕.๐๐ น. ถึงปากทางเข้าตลาดน้ำดำเนินสะดวก
ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นสามารถโดยสารรถสองแถวเข้าไปถึงตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นระยะทางอีก 1 กิโลเมตร
สอบถามสถานีขนส่งสายใต้ โทร. ๔๓๕-๑๑๙๙, ๔๓๕-๑๒๐๐
นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปกับรถโดยสารสายอื่นได้ เช่น สายกรุงเทพฯ-ราชบุรี, กรุงเทพฯ-เพชรบุรี(สายเก่า)
แล้วลงตรงสี่แยกบางแพ ต่อจากนั้นต่อรถสองแถวซึ่งวิ่งระหว่างทางแยกบางแพไปดำเนินสะดวก มีรถออกทุก ๑๐ นาที


สถานที่ท่องเที่ยวจ.พังงา




หมู่เกาะสุรินทร์ที่สุดแห่งป่าปะการังและวิถีชาวเล

พระยาสุรินทราชา เทศาเมืองภูเก็ต (นามเดิมนกยูง วิเศษกุล) เป็นผู้ค้นพบเกาะและตั้งชื่อ หมู่เกาะสุรินทร์
เมื่อครั้งที่ท่านมาสำรวจ ทะเลฝั่งอันดามัน ที่ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
จนกระทั่งวันที่ 30 ธันวาคม 2514 กรมป่าไม้จึงได้ประกาศให้พื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันและอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า
ห่างจากฝั่งทะเลด้านตะวันตกของไทยประมาณ 70 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ
เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี เกาะไข่ และเกาะกลาง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 84,375 ไร่
หรือ 135 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา : กรมป่าไม้ได้ประกาศป่าหมู่เกาะสุรินทร์ ท้องที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นป่าสงวนแห่งชาต
ิเมื่อ 30 ธันวาคม 2514 ต่อมาคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าได้มีมติในที่ประชุมครั้งที่ 1/2519
เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2519 เห็นชอบในหลักการที่จะกำหนดให้หมู่เกาะสุรินทร์เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งกรมป่าไม้ได้ติดต่อประสานงานไปยังกรมทรัพยากรธรณี ได้รับแจ้งว่า หมู่เกาะสุรินทร์อยู่ในเขตสัมปทานปิโตรเลี่ยม
แปลงที่ ตก. 9 W1 ของบริษัท WEEKS PETROLEUM จึงขอให้ระงับการประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไว้ก่อน และบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ยังเคยถูกเสนอให้ใช้เป็นค่ายญวนอพยพ แต่เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทั้งบนบกและในทะเล ประกอบกับทิวทัศน์ธรรมชาติที่งดงาม เหมาะที่จะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาหาความรู้ในด้านธรรมชาติ กรมป่าไม้จึงได้คัดค้านไม่เห็นด้วย

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการสำรวจบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์อีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า มีทิวทัศน์ทางทะเลที่สวยงาม
มีปะการัง สภาพป่าที่สมบูรณ์ หาดทรายขาวสะอาด และนกนานาชนิด กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่ง
ได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรกำหนดบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสุรินทร์ ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2524
นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 29 ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ
หมู่เกาะสุรินทร์มีสภาพที่กำบังคลื่นลมทั้งสองฤดู เนื่องจากเกาะวางตัวอยู่เป็นกลุ่มและมีอ่าวขนาดใหญ่ ทำให้เกิดแนวปะการัง
ริมฝั่งอยู่รอบเกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ และเกาะบริวาร นอกเหนือจากการรับอิทธิพลจากคลื่นลม สภาพแวดล้อมทางสมุทรศาสตร์ของบริเวณหมู่เกาะเหล่านี้อเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการพัฒนาของแนวปะการัง
คือ น้ำใส อุณหภูมิพอเหมาะ และมีการผสมผสานของน้ำที่ได้รับสารอาหารจากมวลน้ำเบื้องล่างที่ปะทะเกาะ
ความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอน ซึ่งเป็นอาหารสำหรับปลาและสัตว์อื่นๆ ปัจจัยทางสมุทรศาสตร์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ
ลักษณะของน้ำขึ้นน้ำลงในทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นแบบ Semidiurnal คือ น้ำขึ้นและน้ำลงอย่างละ 2 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง และความแตกต่างระหว่างน้ำขึ้นสูงสุดและต่ำสุดอาจถึง 3 เมตร ทำให้มีกระแสน้ำเลียบฝั่งค่อนข้างแรง

เกาะสุรินทร์เหนือ และเกาะสุรินทร์ใต้ ตั้งอยู่ชิดกันคล้ายเกาะแฝด โดยมีพื้นน้ำตื้นๆ กว้างประมาณ 200 เมตร กั้นอยู่
ในช่วงน้ำลงสามารถข้ามไปยังอีกเกาะได้ เรียกว่า อ่าวช่องขาด ส่วนเกาะขนาดเล็กอีกสามเกาะเป็นเกาะหินที่มีต้นไม้แคระแกร็น
ขึ้นอยู่ไม่หนาแน่นนัก พืชพรรณที่พบเป็นพืชป่าดิบชื้น เป็นแหล่งกำเนิดของแนวปะการังน้ำตื้นขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

ลักษณะภูมิอากาศ
สามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ปริมาณฝนเฉลี่ยในแต่ละปีจะมีค่ามากกว่า 3,000 มิลลิเมตร
ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 83 เปอร์เซ็นต์ ในฤดูฝนเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
นอกจากจะทำให้ฝนตกหนักแล้ว ท้องทะเลยังมีคลื่นลมแรงทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
์ในช่วงนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดปิด-เปิดฤดูการท่องเที่ยวประจำปี ดังนี้
ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 14 พฤศจิกายน ของทุกปี
เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน - 15 พฤษภาคม ของทุกปี



สถานที่ท่องเที่ยวจ.ตรัง




ถ้ำเลเขากอบ Unseen Thailand
ล่องธาราใต้พิภพ พบความมหัศจรรย์ของโลกใต้หล้า
การผจญภัยเล็กๆ ในถ้ำเลเขากอบ เพื่อชมหนึ่งความอัศจรรย์ของธรรมชาติของถ้ำบนแผ่นดิน
ถ้ำเลเขากอบซึ่งเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดธารน้ำไหลตลอดถ้ำบนแผ่นดิน
มีลักษณะเป็นภูเขาผาหินสูงชันสลับซับซ้อน มีลำคลองที่ไหลมาจากเทือกเขาบรรทัด เมื่อไหลมาถึงบริเวณเขากอบ
จะแยกออกเป็น 3 สาย โดยสองสายจะไหลอ้อมภูเขาและอีกสายหนึ่งจะไหลลอดถ้ำใต้ภูเขา
ฃซึ่งเป็นประติมากรรมธรรมชาติซึ่งหาชมได้ยากยิ่งในที่อื่นๆ ระยะทางประมาณ 4 กม. มีโถงถ้ำหลายแห่ง
เช่น ถ้ำคนธรรพ์ ถ้ำรากไทร และถ้ำท้องพระโรง ความสนุกสนานตื่นเต้นจะเกิดขึ้น
เมื่อนั่งเรือลอดไปใน"ท้องมังกร" ซึ่งเป็นลำธารใต้ภูเขา นักท่องเที่ยวต้องเอนตัวราบเมื่อเพดานถ้ำอยู่ใกล้แค่นอนเอื้อมมือ
ขณะที่หินย้อยห่างจากปลายจมูกไม่ถึงนิ้ว
จังหวัดตรัง
“มรกตแห่งอันดามัน” ที่แสนโด่งดังแห่งหนึ่งของไทย สวยงามด้วยหาดทราย เกาะแก่ง สถานที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมไปพักผ่อน
เช่น หาดปากเมง หาดอันงดงามและเงียบสงบ ยาวเหยียดไปตามชายฝั่งทะเลอันดามัน จุดชมตะวันลับห้วงน้ำที่ดีที่สุด เกาะลิบง
เกาะซึ่งใหญ่ที่สุดใน อ.กันตัง เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า แหล่งรวมของนกชายเลนอพยพ
หลายชนิด ที่อยู่อาศัยของหญ้าทะเลและ “พะยูน" สัตว์ทะเลซึ่งหายากที่สุดชนิดหนึ่ง
การเดินทางไปถ้ำเลเขากอบ
ตามเส้นทางสายตรัง-ห้วยยอด 5 กม. แยกซ้ายเข้าถนน รพช. บ้านเขากอบ-เขาหัวแหวน อีกราว 700 ม.
ถ้ำเลเขากอบสามารถเที่ยวได้ตลอดปี ยกเว้นในฤดูฝนบางช่วงที่มีปริมาณน้ำมาก เรืออาจเข้าไปไม่ได้
อบต. เขากอบจัดเรือพายบริการนำเที่ยว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อบต. เขากอบ โทร 0 7527 1808 และ ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยว
จังหวัดตรัง โทร 0 7521 5867 ถ้ำเลเขากอบ ถ้ำเลเขากอบเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดธารน้ำไหลตลอด
ถ้ำบนแผ่นดิน มีลักษณะเป็นภูเขาผาหินสูงชันสลับซับซ้อน มีลำคลองที่ไหลมาจากเทือกเขาบรรทัด
เมื่อไหลมาถึงบริเวณเขากอบจะแยกออกเป็น 3 สาย โดยสองสายจะไหลอ้อมภูเขาและอีกสายหนึ่งจะไหลลอดถ้ำใต้ภูเขา
ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย ระยะทาง 4 กิโลเมตร อบต. เขากอบ ได้จัดเรือพายบริการนำเที่ยวชมความงามของถ้ำ ถือเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนในท้องถิ่น ค่าบริการเรือลำละ 200 บาท/6 คน หรือคนละ 30 บาท
ใช้เวลาในการล่องเรือประมาณ 1 ชั่วโมง ล่องเรือได้ตั้งแต่เวลา 8.00–18.00 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่
องค์การบริหารส่วนตำบลเขากอบ โทร. 0 7527 1808 ,0 7527 1426
การเดินทาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอห้วยยอด ตามถนนเพชรเกษมประมาณ 7 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าบ้านเขากอบประมาณ 700 เมตร

สถานที่ท่องเที่ยวจ.เพชรบูรณ์





เขาค้อ เป็นชื่อเรียกรวมทิวเขาน้อยใหญ่ของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ในเขตอำเภอเขาค้อ เหตุที่เรียกกันว่า เขาค้อ
เป็นเพราะป่าบริเวณนี้มีต้นค้อขึ้นอยู่มาก เนื่องจากภูมิอากาศบนเขาค้อเย็นตลอดปี ค่อนข้างเย็นจัดในฤดูหนาว
และมีทัศนียภาพสวยงาม จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของเพชรบูรณ์
เขาค้อประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อนมากมาย ยอดเขาค้อ มีความสูงประมาณ 1,174 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
เขาย่าสูง 1,290 เมตรและเขาใหญ่ สูง 865 เมตร นอกจากนั้นยังมีเขาตะเคียนโง๊ะ เขาหินตั้งบาตร เขาห้วยทราย
และเขาอุ้มแพ ลักษณะป่าไม้ในแถบนี้เป็นป่าเต็งรังหรือป่าไม้สลัดใบ ป่าสน และป่าดิบ ที่น่าสนใจก็คือ พันธุ์ไม้ตระกูลปาล์ม
ลักษณะคล้ายต้นตาล แต่ออกผลเป็นทะลายคล้ายหมาก แม้ปัจจุบันป่าจะถูกถางไปมากก็ตาม แต่ก็ยังมีให้เห็นอยู่บ้าง

สถานที่น่าสนใจบนเขาค้อ
อนุสาวรีย์จีนฮ่อ เป็นอนุสาวรีย์ทหารอาสาจากหน่วยรบกองพลที่ 93 ซึ่งมาช่วยรบในพื้นที่เขาค้อ
และเสียชีวิตในการสู้รบ ตั้งอยู่เลยกิโลเมตรที่ 23 ของทางหลวงหมายเลข 2196 ไปเล็กน้อย
ฐานอิทธิ (พิพิธภัณฑ์อาวุธ) อยู่เลยกิโลเมตรที่ 28 ทางหลวงหมายเลข 2196
ไปเล็กน้อย แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2323 ไปประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นจุดหนึ่งที่เห็นทิวทัศน์สวยงาม
และเคยเป็นฐานสำคัญทางยุทธศาสตร์ในอดีต
ปัจจุบันจัดเป็นพิพิธภัณฑ์อาวุธ จัดแสดงปืนใหญ่ ซากรถถัง และอาวุธที่ใช้สู้รบกันบนเขาค้อ
มีห้องบรรยายสรุปแก่ผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะด้วย
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ค่าเข้าชมคนละ 10 บาท

อนุสรณ์สถานผู้เสียสละ
อยู่บนยอดเขาสูงสุดของเขาค้อ อยู่เลยฐานอิทธิ ไปอีก 1 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของพลเรือน ทหาร ตำรวจ ทหาร ผู้พลีชีพในการสู้รบเพื่อปกป้องพื้นที่ในเขตรอยต่อ 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511-2525 โดยสร้างด้วยหินอ่อนเป็นรูปสามเหลี่ยมสูง 24 เมตร หมายถึง การปฏิบัติการร่วมกันระหว่างพลเรือน ตำรวจ ทหารใน ปี พ.ศ. 2524 ผนังภายในบันทึกประวัติอนุสรณ์สถานและรายชื่อวีรชนผู้เสียสละไว้ด้วย
เจดีย์พระบรมสารีริกธาตุเขาค้อ
ตั้งอยู่บนยอดเขาที่บ้านกองเนียม ยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา เจดีย์แห่งนี้ชาวเพชรบูรณ์สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์
ครบ 50 ปี ในวันสำคัญทางศาสนาเช่น วันมาฆบูชาจะมีประชาชนเดินทางมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทำพิธีเวียนเทียน เป็นประจำ

หอสมุดนานาชาติ
ตั้งอยู่ที่เดียวกับเจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ เป็นหอสมุดขนาดใหญ่ออกแบบเป็นรูปเพชรคว่ำ สร้างด้วยกระจกสะท้อนแสง
ภายในเก็บรักษาหนังสือทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศ ในเดือนธันวาคมของทุกปีจะมีการจัดงาน “วันนัดพบเอกอัครราชทูต ณ เขาค้อ”โดยเชิญเอกอัครราชทูตจากประเทศต่างๆ มาร่วมชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมของจังหวัด

พระตำหนักเขาค้อ
ตั้งอยู่บนเขาย่า จากสี่แยกสะเดาพงบนทางหลวงหมายเลข 2258 มีป้ายบอกทางไปพระตำหนักอีก 4 กิโลเมตร
ทางขึ้นค่อนข้างสูงชัน พระตำหนักนี้สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรงานโครงการในพระราชดำริและทรงตรวจเยี่ยมราษฎรอำเภอเขาค้อและ
ใกล้เคียง เป็นอาคารคอนกรีตครึ่งวงกลมมีทั้งหมด 15 ห้องรูปทรงแปลกตาไปจากพระตำหนักอื่นสามารถขออนุญาตเจ้าหน้าที่
เข้าชมบริเวณโดยรอบพระตำหนักได้ น้ำตกศรีดิษฐ์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 2196 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 17 แล้ว
แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2325 อีกประมาณ 10 กิโลเมตรแล้วแยกขวาเข้าน้ำตก น้ำตกศรีดิษฐ์เป็นน้ำตกหินชั้น มีน้ำไหลตลอดทั้งป
ี เคยเป็นที่อยู่ของ ผกค. มาก่อน สิ่งที่น่าสนใจคือ ครกตำข้าวพลังงานน้ำตกที่ ผกค.สร้างไว้

สวนสัตว์เปิดเขาค้อ ใช้เส้นทางเดียวกับน้ำตกศรีดิษฐ์ เมื่อถึงกิโลเมตรที่ 7 แยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 3.5 กิโลเมตร มีทั้งสัตว์ที่ปล่อยตามธรรมชาติและสัตว์ที่เลี้ยงไว้ในกรง หากผู้ที่เข้าชมเป็นหมู่คณะต้องการเจ้าหน้าที่บรรยายและนำชมให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่า ต้องทำหนังสือล่วงหน้าถึง หัวหน้าโครงการสวนสัตว์เปิดเขาค้อ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เนินมหัศจรรย์ อยู่ที่บริเวณ กิโลเมตรที่ 17.5
ถนนสายนางั่ว-สะเดาะพง (ทางหมายเลข 2258) เมื่อขับรถมาถึงตรงนี้ และดับเครื่องรถจะถอยหลังขึ้นเนินได้เอง
ปรากฎการณ์ดังกล่าวเกิดจากภาพลวงตา เพราะในความเป็นจริงเมื่อวัดระดับความสูงของพื้นที่สองจุดแล้ว
ความสูงของเนินจะมีระดับต่ำกว่าช่วงที่เป็นทางขึ้นเนิน
การเดินทาง
จากเพชรบูรณ์ไปเขาค้อใช้ทางหลวงหมายเลข 21 (เพชรบูรณ์-หล่มสัก)
ถึงสามแยกนางั่ว ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 2258 อีก 30 กิโลเมตร
อีกเส้นทางหนึ่งคือ ไปตามทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 100 (บ้านแคมป์สน)
เลี้ยวซ้ายเข้าเขาค้อตามทางหลวงหมายเลข 2196 อีกประมาณ 33 กิโลเมตร พาหนะที่จะขึ้นเขาค้อ ไม่ควรใช้รถบัสขนาดใหญ่
เพราะมีทางโค้งมาก ถนนค่อนข้างแคบและลาดชัน ควรใช้รถปิคอัพหรือรถตู้สภาพดี

นักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยรถประจำทางสามารถเช่ารถสองแถวได้ที่ปากทางขึ้นเขาค้อ บริเวณแคมป์สน กิโลเมตรที่ 100
ในราคาวันละประมาณ 600 บาท มีรถจอดคอยให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรืออาจเช่ารถสองแถวที่บริเวณตลาดเทศบาล
ในตัวเมืองเพชรบูรณ์ ราคาวันละประมาณ 800 บาท ที่พักบนเขาค้อ มีให้เลือกหลายแห่ง ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณตำบลทุ่งสมอและแคมป์สน ห่างจากสถานที่ท่องเที่ยวบนเขาค้อประมาณ 30 กิโลเมตร ที่พักที่อยู่ใกล้ที่สุดได้แก่ บ้านพักทหารม้า กิโลเมตรที่ 28 ทางหลวงสาย 2196
กองพลทหารม้าที่ 28 และเรือนพักผู้ติดตามอยู่ใกล้กับพระตำหนักเขาค้อและเขาย่า
นอกจากนี้ยังมีรีสอร์ทต่างๆ ที่ตั้งอยู่ตามเส้นทางขึ้นเขาค้อ


สถานที่ท่องเที่ยวจ.แม่ฮ่องสอน




อำเภอ ปาย

ปาย...อำเภอเล็ก ๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเยือนอย่างไม่ขาดสาย
ความเงียบสงบ ลำน้ำปายสายน้อยที่ไหลผ่านกระต๊อบเล็ก ๆ อันเป็นที่พำนักของนักท่องเที่ยว
ภูเขาที่ใหญ่น้อยที่โอบล้อมอำเภอปาย เป็นสเน่ห์ที่ประทับใจนักท่องเที่ยวอย่างไม่รู้เลือน
ในฤดูฝน ริมลำน้ำปายจะดารดาษไปด้วยทุ่งนาข้าวเขียวขจี และเมื่อย่างเข้าฤดูหนาว ทุ่งนาข้าวก็จะแปรเปลี่ยนเป็นไร่กระเทียมที่ทอดตัวยาวไปจรดเชิงเขาท่ามกลางสายหมอกเย็นระรื่น
เมื่อราตรีมาเยี่ยมเยือน ถนนก็เริ่มครึกครื้น ชาวดอยต่าง ๆ ก็ปูผ้ากันริมถนนขายสินค้าพื้นเมือง ทั้งย่ามทอมือ ผ้าปักหลากสี ร้านขายโปสการ์ดทำเองก็เริ่มเปิดไฟดึงดูดสายตานักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมเยือน เมื่อเสียงเพลง Ginger Tea ดังขึ้นชาวต่างชาติกลุ่มใหญ่ก็เข้ามารุมล้อมรถเข็นขายน้ำขิงในกระบอกไม้ไผ่ และรับฟังเพลงน่ารัก ๆ จากปากแม่ค้า ทุกอย่างนี้ล้วนแต่งแต้มสีสันให้เมืองปายในยามราตรีให้ดูสดใสทุกค่ำคืน
แหล่งท่องเที่ยวอีกหลายแห่งในอ.ปาย ไม่ว่าจะเป็น วัดน้ำฮู, วัดพระธาตุแม่เย็น, น้ำตกหมอแปง,สะพานประวัติศาสตร์
ก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจทั้งสิ้น ซึ่งทำให้เมืองปายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในใจของผู้มาเยือนเสมอมา